การรักษาด้วย.. รังสีร่วมรักษา

การให้บริการด้านรังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology ) คือ การรักษาโดยใช้เครื่องมือตรวจขนาดเล็กชนิดพิเศษเฉพาะทางการแพทย์ สำหรับการส่องให้เห็นพยาธิภาพภายในร่างกาย ร่วมกับการใช้ภาพการตรวจทางรังสีวิทยาเป็นเครื่องนำทาง เช่น เครื่องตรวจด้วยรังสีเอกซเรย์ (X-ray) เครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)  เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT – Scan)  เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI : Magnetic Resonance Imaging) เป็นต้น เพื่อเป็นการนำร่องให้แพทย์มองเห็นรอยโรคต่างๆ ภายในได้อย่างแม่นยำ ชัดเจน

รังสีร่วมรักษาสามารถแบ่งการรักษาเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1.โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด
Ÿ การวินิจฉัย ได้แก่
– การสวนเส้นเลือดแดง (Angiogram)
– การสวนเส้นเลือดดำ (Venogram)

Ÿ การรักษา ได้แก่
– การรักษาโรคมะเร็งตับ (TACE)
– การอุดเส้นเลือดที่ขาด หรือเพื่อลดขนาดก้อน เนื้องอกก่อนผ่าตัด (Embolization)
–  การรักษาเส้นเลือดที่ผิดปกติ (Sclerotherapy)

2. โรคที่ไม่เกี่ยวกับหลอดเลือด

Ÿ การวินิจฉัย ได้แก่
– Image-guided biopsy : การตัดชิ้นเนื้อโดยใช้ Ultrasound หรือ CT scan เป็นตัวช่วยกำหนดตำแหน่ง            เช่น ก้อนเนื้อที่เต้านม ตับ ไต ปอด ก้อนเนื้อในทรวงอกหรือในช่องท้อง เป็นต้น

– Image-guided aspiration : การเจาะดูดเซลล์หรือฝีหนองโดยใช้เครื่อง Ultrasound หรือ CT scan เป็นตัวช่วยกำหนดตำแหน่ง เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง ฝีที่ตับ น้ำในข้อ ถุงน้ำหรือฝีหนองที่ตำแหน่งต่างๆ เป็นต้น

Ÿ การรักษา ได้แก่
  – การใส่ท่อระบายน้ำดีในกรณีท่อน้ำดีอุดตัน Percutaneous biliary drainage (PTBD)
– การใส่ท่อที่ไตเพื่อระบายน้ำปัสสาวะ กรณีท่อไตส่วนล่างอุดตันจากนิ่ว หรือก้อนมะเร็งกดทับ  Percutaneous nephrostomy (PCN)
– การใส่ท่อระบายน้ำหรือหนอง Percutaneous drainage (PCD)
  – การรักษาโรคมะเร็งตับด้วยการจี้เข็มความร้อนโดยใช้เข็มพิเศษ Radiofrequency ablation (RFA)                  

          รังสีร่วมรักษาสามารถนำไปใช้ได้กับทุกโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะทุกระบบของร่างกาย ในด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดน้อย มีแผลขนาดเล็ก และลดความเสี่ยงจาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้อีกด้วย

ศูนย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลหัวเฉียว มีทีมรังสีแพทย์ที่มีความชำนาญการเฉพาะด้าน รวมทั้งทีมนักรังสีการแพทย์ พยาบาล ที่มีความชำนาญการด้านวิชาชีพโดยเฉพาะในงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีและการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย  เครื่องมือทางการแพทย์ที่ศูนย์รังสีวิทยาใช้ในการให้บริการเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด ซึ่งจะสามารถรองรับการบริการที่มีจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว แพทย์ทุกหน่วยบริการสามารถดูภาพเอกซเรย์ผ่านระบบดิจิทัลทางจอมอนิเตอร์ได้ทันทีไม่ต้องให้ผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่เดินถือฟิล์มเอกซเรย์ไปหาแพทย์

พญ.จารุวรรณ รังษีจำรัส  รังสีแพทย์ อนุสาขารังสีร่วมรักษาของลำตัว  ศูนย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลหัวเฉียว