ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น เอเชีย แปซิฟิก (FUJIFILM Business Innovation Asia Pacific) ประกาศผลผู้ชนะการประกวดอินโนเวชั่น พรินท์ อวอร์ดส์ (Innovation Print Awards หรือ IPA) ประจำปี 2565 ในการจัดประกวดเป็นปีที่ 15 นี้ โดยทาง IPA แสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล 47 รายจาก 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสำหรับการชนะรางวัลอันทรงเกียรตินี้ การประกวดประจำปีดังกล่าวนี้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เครื่องพิมพ์ด้วยภาพกราฟิกและโซลูชั่นด้านการสื่อสารของฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ทั่วทั้งภูมิภาคได้เข้าร่วม โดยมีการส่งผลงาน (แบบเดี่ยว) เข้าร่วมประกวดรวมเป็นจำนวน 193 รายการใน 25 ประเภท สำหรับประเภทที่มีการแข่งขันสูงสุดได้แก่โบรชัวร์ แคตาล็อก และแผ่นพับ และบรรจุภัณฑ์และฉลาก ซึ่งแต่ละประเภทมีการส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 40 รายการ
จำนวนผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดในประเภทโบรชัวร์ แคตาล็อก แผ่นพับ บรรจุภัณฑ์และฉลาก เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวจากปีที่แล้ว แสดงถึงแนวโน้มและความต้องการที่กำลังจะเกิดขึ้นสำหรับบรรจุภัณฑ์และฉลากในระยะสั้น โดยแบรนด์ต่าง ๆ มองหาสิ่งดึงดูดที่ทรงพลังมากขึ้นสำหรับบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์เพื่อกระตุ้นลูกค้า และสามารถส่งถึงลูกค้าอย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งบรรจุภัณฑ์พิมพ์ดิจิทัลในปัจจุบันอำนวยการพิมพ์ให้มีรอบการพิมพ์ที่สั้นลง ส่งมอบแบบทันเวลา รวดเร็ว (just-in-time) และจำนวนรายการสั่งซื้อขั้นต่ำ (MOQ) ที่น้อยลง ทำให้วงจรการผลิตผลิตภัณฑ์สั้นลง
“สิ่งที่เราเห็น สิ่งที่กำลังเป็นที่นิยม และสิ่งที่เราสังเกตได้ในปีนี้ คือบรรจุภัณฑ์ดิจิทัลในการประกวดครั้งนี้ได้พุ่งทะยานขึ้นและเป็นหนึ่งในประเภทที่มีความสำคัญที่สุดที่เราได้ตัดสิน” พอล คัลลาฮาน (Paul Callaghan)*1 ประธานคณะกรรมการการประกวด IPA ประจำปี 2565 กล่าว “เราจำเป็นต้องแบ่งออกเป็นสองประเภทย่อย ได้แก่ บรรจุภัณฑ์แบบแข็งและบรรจุภัณฑ์แบบกล่องกระดาษ หากคุณคิดว่าบรรจุภัณฑ์พิมพ์ดิจิทัลยังตามหลังอยู่ไม่ว่าในแง่ใด ผมยืนยันได้เลยว่าถึงเวลาของการพิมพ์ดิจิทัลแล้ว”
จากผลงานที่ได้รับรางวัลทั้ง 47 รายการ ผลงาน 34 รายการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อิริเดสส์ โปรดักชั่น เพรส (Iridesse™ Production Press) หรือเรวอเรีย เพรส พีซี1120 (Revoria Press™ PC1120) รวมถึงผู้ชนะเลิศ “รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม” (Best Innovation Award) อย่างวินสัน เอ็นเตอร์ไพรซ์ (เอชเค) ลิมิเต็ด (Winson Enterprise (H.K.) Limited) จากฮ่องกง ผลงานชื่อ “การเดินทางของชีวิต” (The Voyage of Life) นี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากชุดภาพวาดสี่ชิ้นโดยโธมัส โคล (Thomas Cole) *2 ซึ่งสื่อถึงสี่ขั้นของชีวิตมนุษย์ ในการนี้วินสัน เอ็นเตอร์ไพรซ์ ประยุกต์ใช้แนวคิดเดียวกันและบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของคู่รัก แต่ละหน้ามีชนิดและเอฟเฟกต์ของกระดาษที่ต่างกัน ซึ่งนำเสนอการเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างวิจิตรซับซ้อน ถ่ายทอดหลากหลายความรู้สึกและประสบการณ์แก่ผู้อ่าน
“เทคโนโลยีและความรวดเร็วอย่างยิ่งยวดในการพิมพ์ดิจิทัล ส่งผลให้แบรนด์ต่าง ๆ สำรวจทดลองการสร้างสรรค์ดีไซน์ของตัวเองมากขึ้นและคิดนอกกรอบได้อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อมีสีพิเศษต่าง ๆ ให้ใช้ได้” สก็อต แมคคี (Scott Mackie) ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจการสื่อสารด้วยภาพกราฟิก ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น เอเชีย แปซิฟิก กล่าว “เราตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางอันนำสมัยนี้ร่วมกับลูกค้า ในการสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์ของพวกเขาด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ของเรา ด้วยการประกวด IPA นี้ ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัลที่รวดเร็วและแข็งแกร่ง ขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัล”
ผลงานประยุกต์ใช้ที่ได้รับรางวัลจะจัดแสดงในโชว์รูมการสื่อสารด้วยภาพกราฟิกของฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น เอเชีย แปซิฟิก ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นและในอีเวนต์ระดับภูมิภาคของอุตสาหกรรมการสื่อสารด้วยภาพกราฟิกเพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถเหล่านี้ในขั้นต่อไป ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น เอเชีย แปซิฟิก จำกัด จะส่งผลงานทั้งหมด*3 เข้าร่วมในการแข่งขันเอเชียน พรินท์ อวอร์ดส์ (Asian Print Awards) ซึ่งเป็นการประกวดสำหรับผู้พิมพ์ในภูมิภาค
ผู้ชนะการประกวดอินโนเวชั่น พรินท์ อวอร์ดส์ ประจำปี 2565
*1: คณะกรรมการรวมถึงพอล คัลลาฮาน ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการประชุมบรรจุภัณฑ์ภูมิภาคเอเชีย (Regional Asian Packaging Conference) และรางวัลเอเชียน พรินท์ อวอร์ดส์ อีกทั้งยังเป็นผู้ตีพิมพ์นิตยสารปรินท์ อินโนเวชั่น เอเชีย (Print Innovation Asia) นิตยสารอุตสาหกรรมการพิมพ์หนึ่งเดียวของภูมิภาค
*2: โธมัส โคล (2344-2391) เป็นศิลปินชาวอเมริกันและนักสิ่งแวดล้อมยุคต้น https://thomascole.org/
*3: ผลงานจากรางวัลอินโนเวชั่น พรินท์ อวอร์ดส์ ประจำปี 2564 จากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่สามารถเข้าร่วมประกวดรางวัลเอเชียน พรินท์ อะวอร์ดส์ เนื่องจากมีรางวัลท้องถิ่นอยู่แล้ว